top of page

Features

01.

เรือกอและ

02.

กือดาจีนอ

03.

บ้านขุนพิทักษ์รายา

04.

วังจะบังติกอ

393733865_1338403900426752_7906718311020631940_n.jpg

welcome to pattani

คำว่า ปัตตานี มาจากคำภาษามลายูปัตตานี ڤطاني ซึ่งมาจากคำว่า Pata Ini ("ชายหาดแห่งนี้") 

393695213_1254623505216056_2709865930381043228_n.jpg

เรือกอและ

ชื่อเรือกอและ หรือ “ฆอและ” เป็นคำภาษามลายู หมายถึง โคลงเคลง หรือล่องลอย สารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ 3 (2505 : 1448) ได้ให้ความหมายไว้ว่ากุแหละหรือกอและ เป็นคำภาษามาลายู ใช้เรียกเรือประมงขนาดเล็กหรือขนาดกลาง แต่บางโอกาสก็นำมาเรียกเรือขนาดใหญ่ได้เหมือนกัน ข้อมูลหลายแห่งสันนิษฐานว่า น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาอิสลาม และการเข้ามาตั้งรกรากของชาวมุสลิมในภาคใต้ตอนล่างของไทย

370244747_1612741079256271_2880569843357310563_n.jpg

กือดาจีนอ

กือดาจีนอ เป็นภาษามลายู ซึ่งคำว่า กือดา แปลว่า ตลาด ส่วนคำว่า จีนอ แปลว่า จีน กือดาจีนอประกอบด้วยถนนปัตตานีภิรมย์ซึ่งวิ่งขนานกับแม่น้ำปัตตานีไปบรรจบกันที่ถนนอาเนาะรู ซึ่งมีศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวตั้งอยู่ที่นั่น กือดาจีนอเป็นย่านเมืองเก่าที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการค้าในอดีต  แถมปัจจุบันยังคงเหลือสถาปัตยกรรมผสมผสานแบบไทยและจีนหลงเหลืออยู่ให้เห็นอีกหลายหลัง แถมยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของผู้คนในชุมชนให้ทุกคนได้เห็นและสัมผัสกันอีกด้วย

บ้านขุนพิทักษ์รายา

   ตั้งอยู่ในย่านหัวตลาดหรือย่านตลาดจีน ถนนปัตตานีภิรมย์ จังหวัดปัตตานี ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่จังหวัดปัตตานีและเป็นภาพสะท้อนความเจริญรุ่งเรืองของย่านนี้ พื้นที่ชุมชนหัวตลาด เป็นพื้นที่ย่านการค้าและพักอาศัยของชุมชนชาวจีนกลุ่มแรกๆที่เข้ามายังปัตตานี มีถนนปัตตานีภิรมย์ตัดเลียบขนานกับแม่น้ำปัตตานี ถัดมาเป็นถนนอุดมวิถีและถนนนาเกลือ มีถนนที่ตัดตั้งฉากและเชื่อมถนนสามเส้นนี้คือ ถนนอาเนาะรู ถนนมายอ ถนนฤาดี ถนนปรีดาและถนนพิพิธ ซึ่งทั้งสองชุมชน พบบ้านเรือนและร้านค้าของชาวไทยเชื้อสายจีนอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณถนนอาเนาะรูซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ต่อมายังถนนปัตตานีภิรมย์ซึ่งวิ่งขนานกับแม่ปัตตานี ในอดีตแม่น้ำปัตตานีเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ใช้ในการคมนาคม อีกทั้งแม่น้ำปัตตานียังไหลเข้ามาในสู่แผ่นดิน แตกแขนงเป็นแม่น้ำลำคลองสายย่อยๆ หนึ่งในนั้นคือ คลองอาเนาะซูงา ซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนอาเนาะซูงา มีสมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม

387525126_1078389186497983_5869310466512426580_n.jpg
387572261_1070451133918593_4842225815086843206_n_edited.jpg

วังจะบังติกอ

วังจะบังติกอ ตั้งอยู่ที่ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี สร้างโดยสถาปนิกชาวจีนในสมัยตนกูมูฮัมหมัดหรือตนกูบือซา พ.ศ. 2388-2399 เชื้อสายราชวงศ์กลันตัน    ( กำปงลาว์หรือบ้านทะเล)ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองปัตตานี ตัววังล้อมด้วยกำแพงทึบก่ออิฐถือปูน รูปทรงของวังเป็นบ้านชั้นเดียวขนาดใหญ่ หลังคาทรงปั้นหยา หรือแบบลีมะ ตัวอาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง 1 เมตร สร้างด้วยไม้ ภายในอาคารมีห้องโถงขนาดใหญ่ใช้เป็นที่ทำงานของเจ้าเมือง ส่วนด้านหลังของห้องโถงจะเป็นที่อยู่อาศัยของภรรยาและบริวาร วังจะบังติกอได้ใช้เป็นศูนย์กลางการปกครองในท้องถิ่นและเป็นที่อยู่อาศัยของเจ้าเมืองปัตตานี จนกระทั่งถึงสมัยตนกูอับดุลกอร์เดร์ เจ้าเมืองคนสุดท้าย ได้มีการยุบเมืองรวมเป็นมณฑลปัตตานี ทำให้วังซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองก็เปลี่ยนสภาพไปกลายเป็นเพียงที่อยู่อาศัยของบุตรหลานสืบต่อมาถึงปัจจุบัน

Video in
Penang,Malaysia

bottom of page